#ข่าวสาร #เทศกาล #เทศกาลโคมไฟ #โคมไฟ
วันนี้จีนศาสตร์มีความรู้เรื่องเทศกาลเก่าแก่ของจีนมาให้อ่านกันครับ เทศกาล โคมไฟ
หรือ 元宵节 Yuánxiāo jié (เยวี๋ยนเซียวเจี๋ย) เป็นเทศกาลเก่าแก่ของจีน มีการสืบทอดต่อกันมามากกว่า 2,000 ปี จัดขึ้นทุกวันที่ 15 ในเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติ คือคืนที่พระจันทร์เต็มดวงเป็นครั้งของปี และถือว่าเป็นเทศกาลสุดท้าย เพื่อส่งท้ายในช่วงตรุษจีน (บางครอบครัวในไทยจะเรียกว่าเป็นตรุษจีนเล็กและมีการรวมญาติไหว้บรรพบุรุษกันด้วยครับ แบบที่บ้านผมเนี่ยแหละ) จะเป็นวันที่ครอบครัวชาวจีนจะมาใช้เวลาร่วมกันเพื่อรับประทานอาหารและบัวลอย พร้อมทั้งออกไปชมโคมไฟที่ประดับตามสถานที่ต่างๆ อย่างสวยงาม ซึ่งปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 8 ก.พ. นี้ครับ

มีหลากหลายตำนาน ต่างกันเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นขอเทศกาลโคมไฟ และหนึ่งในตำนานที่เล่าขานกันมานาน ก็คือ ความมืดลงของฤดูหนาว และ ผู้คนในชุมชนสามารถที่จะ "ลบความมืดนั้นออกไปด้วยแสงสว่างที่เกิดจากฝีมือมนุษย์" ที่เรียกว่า โคมไฟ ที่เป็นเหมือนแสงสว่างที่จะทำให้เราโชคดี และความหวัง ส่วนในสมัยราชวงศ์ฮั่น เทศกาลนี้เป็นการฉลองและขอพรจากเทพเจ้า ไท่อี่ (เทพเจ้าแห่งดาวฟ้าเหนือ ให้คุ้มครองบ้านเมือง ดูแลรักษาประชาชนชาวจีนให้มีสุขภาพแข็งแรง) ในอีกความหมายของเทศกาลโคมไฟ คือการตามหาความรัก เป็นวันแรกที่หนุ่มสาวจะเดินเที่ยวตามท้องถนนที่ประดับโคมไฟสวยงาม เพื่อให้หนุ่มสาวตามหาความรัก คล้ายกับเทศกาล วาเลนไทน์
เทศกาลโคมไฟก็เป็นการรวมตัวกันของครอบครัวเพื่อการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการทำอาหารประจำเทศกาล เป็น 汤圆 Tāngyuán (ทังเยวี๋ยน) บัวลอย โดยทำจากแป้งข้าวเจ้า ปั้น และข้างในมีไส้ เช่น ถั่วแดงหวาน หรืองา ปั้นเป็นลูกกลม แล้วนำไปต้ม หรือทอด บัวลอยลักษณะนี้ จะคล้ายกับบัวลอยน้ำขิง แต่ใช้น้ำเปล่าแทน เม็ดบัวลอยจะใหญ่ ไม่เหมือนบัวลอยไข่หวานแบบที่บ้านเราทานกันนะครับ ชาวจีนเชื่อว่า บัวลอยที่มีลักษณะเป็นลูกกลมๆ และอยู่ในชามทรงกลม คือการกลมเกลี่ยวกันของคนในครอบครัว และทำให้โชคดี

